Paste this code as high in the of the page as possible:

บทความ

เคล็ดลับการ เพิ่มน้ำนมแม่ ที่คุณแม่น้ำนมน้อยต้องอ่าน !

เคล็ดลับการเพิ่มน้ำนมแม่ ที่คุณแม่น้ำนมน้อยต้องอ่าน !

เคล็ดลับการ เพิ่มน้ำนมแม่ ที่คุณแม่น้ำนมน้อยต้องอ่าน !

น้ำนมแม่น้อย เป็นปัญหาที่คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ ท่าน รู้สึกวิตกกังวลเป็นอย่างมาก เพราะกลัวว่าลูกน้อยของตนนั้นจะได้รับปริมาณน้ำนมไม่เพียงพอ และได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่ครบถ้วน 

แต่ปัญหาน้ำนมแม่น้อยเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร และมีเคล็ดลับการ เพิ่มน้ำนมแม่ อย่างไรได้บ้าง วันนี้ Inter Express จะมาแนะนำ และตอบคำถามข้างต้นให้คุณแม่ทุกท่านได้ทราบกัน

เคล็ดลับการ เพิ่มน้ำนมแม่ ที่คุณแม่น้ำนมน้อยต้องอ่าน ! ส่งนมแม่

เนื่องจากองค์การอนามัยโลกแนะนำว่า เด็กทารกแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 6 เดือนแรก ควรดื่มน้ำนมแม่เป็นอาหารหลักเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะในน้ำนมแม่มีสารอาหารที่ครบถ้วน ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เหมาะสมกับทารกที่กำลังเจริญเติบโต ดังนั้น การรับมือกับปัญหาน้ำนมแม่น้อย และการ เพิ่มน้ำนมแม่ จึงสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อที่ลูกจะได้ดื่มน้ำนมแม่ได้อย่างต่อเนื่องนั่นเอง

น้ำนมแม่น้อย เกิดขึ้นจากสาเหตุใด

ปัญหาน้ำนมแม่น้อยสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิต พฤติกรรมการรับประทานอาหาร รวมไปถึงการที่คุณแม่ให้นมลูกช้าเกินไป ไม่ค่อยได้ให้นมลูก หรือปัญหาสุขภาพและการบาดเจ็บที่บริเวณเต้านมก็ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้แม่มีน้ำนมน้อย

เคล็ดลับการ เพิ่มน้ำนมแม่ ด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งอาหารเสริม

1. การรับประทานอาหารให้เหมาะสม : การใส่ใจและเลือกรับประทานอาหารของคุณแม่นั้นสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะอาหารที่รับประทานเข้าไปนั้นจะส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณของน้ำนมแม่ 

คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารจำพวกโปรตีน แร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม โฟเลท ไอโอดีน ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีอยู่มากในเนื้อสัตว์ เนื้อปลา อาหารทะเล ตับ เครื่องในสัตว์ นม ไข่ ถั่ว งา ผักและผลไม้ 

2. ดื่มน้ำเปล่าให้มาก : คุณแม่ที่ให้นมลูกควรจะต้องดื่มน้ำเปล่าให้มาก ๆ ประมาณ 3 ลิตรต่อวัน เพื่อให้ร่างกายคุณแม่นั้นมีปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการสร้างน้ำนมแม่ให้แก่ลูก

3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ : คุณแม่ที่ต้องให้นมลูกควรจะต้องพักผ่อนมาก ๆ และควรพยายามนอนหลับทุกครั้งที่ลูกหลับ โดยเฉพาะเวลากลางคืน เพราะฮอร์โมนสร้างน้ำนมจากต่อมใต้สมอง จะหลั่งในช่วงกลางคืนมากกว่ากลางวัน โดยเฉพาะในช่วง 10 วันแรกหลังคลอด เพราะจะเป็นตัวกำหนดปริมาณน้ำนมแม่ในอนาคตนั่นเอง

4. ปั๊มน้ำนมแม่อย่างสม่ำเสมอ : การที่คุณแม่ให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ หรือปั๊มน้ำนมแม่อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมมากขึ้น และเพียงพอสำหรับความต้องการของลูก

อาหารที่คุณแม่ให้นมลูกควรหลีกเลี่ยง

เนื่องจากสารอาหารต่าง ๆ และรสชาติของอาหารที่คุณแม่รับประทานนั้น สามารถส่งผ่านน้ำนมแม่ได้ ดังนั้นคุณแม่ที่กำลังให้นมลูกควรหลีกเลี่ยงอาหารดังต่อไปนี้

1. แอลกอฮอล์ : การดื่มแอลกอฮอล์ช่วงที่คุณแม่ยังต้องให้นมลูก ถือว่าไม่ควรเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะปริมาณมากหรือน้อยแค่ไหนก็ตาม เพราะแอลกอฮอล์ที่คุณแม่ดื่มอาจเจือปนผ่านไปกับน้ำนมแม่ และเข้าสู่ร่างกายของลูก ซึ่งจะส่งผลให้พัฒนาการของลูกนั้นล่าช้า และมีอาการเซื่องซึมได้

2. คาเฟอีน : การดื่มหรือรับประทานอาหารที่มีคาเฟอีนสูง อาจรบกวนการนอนหลับของลูกที่ดื่มนมแม่ได้ แต่ถ้าหากจำเป็นต้องดื่มหรือรับประทานอาหารที่มีคาเฟอีนจริง ๆ ก็ควรจำกัดปริมาณคาเฟอีนต่อวันอยู่ที่ 200 มิลลิกรัม

3. อาหารทะเล : ถึงแม้อาหารทะเลจะเป็นแหล่งของโปรตีนและโอเมก้า 3 ที่ดีต่อสุขภาพ แต่ก็ไม่ควรรับประทานเป็นประจำ เพราะอาหารทะเลบางชนิดอาจมีการปนเปื้อนของสารปรอท ซึ่งหากส่งผ่านไปยังน้ำนมแม่ อาจมีผลต่อระบบประสาทและพัฒนาการของลูกได้


หลังจากที่คุณแม่ได้ทราบเคล็ดลับการเพิ่มน้ำนมแม่ไปแล้ว การปั๊มน้ำนมแม่เพื่อเก็บสต็อกไว้ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะให้ลูกของท่านได้ดื่มน้ำนมแม่ได้อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ถ้าหากคุณแม่มือใหม่ท่านใดที่ยังไม่ทราบวิธีการเก็บรักษานมแม่ ก็สามารถอ่านบทความต่อได้เลยด้านล่าง

วิธีการเก็บรักษาน้ำนมแม่

คุณแม่ควรเก็บน้ำนมแม่ใส่ขวดนมหรือถุงเก็บน้ำนม โดยจะต้องเขียนวันและเวลาที่ปั๊มน้ำนมแม่ไว้อย่างชัดเจน และควรแบ่งปริมาณน้ำนมแม่ให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกดื่ม ซึ่งวิธีการนำน้ำนมแม่ออกจากเต้านมอาจใช้วิธีบีบน้ำนมออกจากเต้าด้วยมือหรือการใช้เครื่องปั๊มนม ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้

  1. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่
  2. เตรียมขวดนมหรือถุงเก็บน้ำนมแม่ที่สะอาดปราศจากเชื้อ 
  3. หามุมสงบนั่งให้สบายผ่อนคลาย จะช่วยทำให้การหลั่งของน้ำนมดีขึ้น
  4. จัดเรียงลำดับการบีบเก็บน้ำนมก่อนหลัง เพื่อความสะดวกในการนำมาใช้

ระยะเวลาการเก็บรักษาน้ำนมแม่

  1. อุณหภูมิห้อง (27-32 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 3-4 ชั่วโมง
  2. อุณหภูมิห้อง (16-26 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 4-8 ชั่วโมง
  3. กระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งตลอดเวลา (15 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 24 ชั่วโมง
  4. ตู้เย็นช่องธรรมดา (0-4 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 3-5 วัน และควรเก็บไว้ด้านในสุดของตู้เย็น
  5. ช่องแช่แข็ง ตู้เย็นแบบประตูเดียว (-15 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 2 สัปดาห์
  6. ช่องแช่แข็ง ตู้เย็นแบบประตูแยก (-18 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 3-6 เดือน
  7. ช่องแช่แข็งเย็นจัด ตู้เย็นชนิดพิเศษ (-20 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 6-12 เดือน

เพิ่มน้ำนมแม่ ส่งน้ำนมแม่แช่แข็งด้วย Inter Pack บริการแพ็คพร้อมส่ง

ส่งน้ำนมแม่แช่แข็งด้วย INTER PACK บริการแพ็คพร้อมส่ง

สำหรับคุณแม่ท่านใดต้องส่งน้ำนมแม่ไปต่างจังหวัด และกำลังมองหาขนส่งที่สามารถส่งน้ำนมแม่ของท่านได้ถึงบ้าน ก็สามารถมาส่งกับ INTER EXPRESS LOGISTICS ได้

คุณแม่สามารถใช้บริการได้ง่าย ๆ เพียงแค่เตรียมน้ำนมแม่ที่ทำอุณหภูมิแช่แข็งเรียบร้อยแล้ว นำมาส่งที่สาขาที่ให้บริการ INTER PACK บริการแพ็คพร้อมส่ง จากนั้นทีมงานจะเป็นคนแพ็คน้ำนมแม่ด้วยอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานของ Inter Express เอง เพียงเท่านี้ก็มั่นใจได้เลย ว่าน้ำนมแม่ที่ส่งไปถึงลูก จะยังคงคุณประโยชน์ไว้ได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางอย่างแน่นอน

“เพราะน้ำนมแม่ดีที่สุด”